Product Articles

การเลือก Fixed-angle rotor และ Swing-out rotor ให้เหมาะกับการใช้งาน

    โดยทั่วไปแล้วในการปั่นเหวี่ยง มี Rotor สำหรับการปั่นแยกสองประเภทให้เลือก ได้แก่ โรเตอร์แบบมุมคงที่ (Fixed angle rotors) และโรเตอร์แบบเหวี่ยงออก (Swing out rotor) โรเตอร์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

    Fixed angle centrifuge rotors ถูกออกแบบเพื่อให้หลอดทดลองวางตั้งอยู่ในมุงองศาคงที่ในขณะหมุนเหวี่ยง โดนปกติทำมุมประมาณ 30 ถึง 45 องศา ขึ้นกับแต่ละชนิดของ rotor ขณะที่ Swing out rotors ออกแบบให้หลอดทดลองเหวี่ยงออกไปด้านข้างทำมุม 90 องศา กับแกนหมุน เครื่องหมุนเหวี่ยงใช้เพื่อแยกวัสดุตามความหนาแน่น ขณะที่ rotor หมุนทำให้ส่วนที่หนาแน่นกว่าของตัวอย่างจะถูกดึงไปที่ก้นหลอดทดลองในมุมที่กำหนดโดยแรงเหวี่ยง ซึ่งหมายความว่าอนุภาคนั้นจะถูกดึงลงไปที่ก้นหลอดโดยตรงสำหรับ Swing-out rotor แต่อนุภาคนั้นจะทำมุมที่ก้นหลอดเมื่อหมุนเหวี่ยงด้วย Fixed angle

Diagram showing pellet differences when using swing out or fixed angle centrifuge rotors.

รูปที่ 1 ความแตกต่างของตะกอนหมุนเหวี่ยงด้วย Swing out และ Fixed angle rotor

โดยตะกอนจะตั้งฉากกับทิศทางของแรงเหวี่ยง

 

เปรียบเทียบ Fixed angle vs. swing out rotors

Fixed angle rotor

Swing out rotor

หลอดทดลองทำ "มุมคงที่ (fixed angle)" ประมาณ 30 - 45 องศา

หลอดทดลองเหวี่ยงออกไปด้านข้าง (swing out) ทำมุม 90 องศา

ตะกอนก่อตัวทำมุมเอียงที่ก้นหลอด

ตะกอนก่อตัวบริเวณกึ่งกลางของก้นหลอด

สามารถทำความเร็วรอบในการเหวี่ยงได้สูงกว่า ขึ้นแต่ละชนิดของ rotor ตั้งแต่ความเร็ว 100 x g จนไปถึงทำความเร็วได้ 700,000 x g

สามารถทำความเร็วรอบในการเหวี่ยงได้ต่ำกว่า มักพบทำความเร็วได้ไม่เกิน 100,000 x g เนื่องจากข้อจำกัดของการออกแบบ และ metal stress ที่เกิดขึ้นสูงกว่า Fixed angle rotor

รองรับจำนวนตัวอย่าง และมีความหลากหลายของ rotor น้อยกว่า

เช่น 1 rotor สามารถรองรับได้เพียง 1 ชนิดของหลอดทดลอง หรือขนาดเดียวเท่านั้น

รองรับจำนวนตัวอย่าง และมีความหลากหลายและยืดหยุ่นของ rotor ให้เลือกได้มากกว่า

เช่น 1 rotor รองรับได้มากกว่า 1 ชนิดของหลอดทดลอง หรือหลายขนาดของทดลอง

ประยุกต์ใช้กับตัวอย่าง เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ โปรตีน โปรตีนเยื่อหุ้มเซลล์ DNA/RNA plasmid DNA หรืออนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ต้องใช้แรงเหวี่ยงสูงในการปั่นแยก เป็นต้น

ประยุกต์ใช้ในงาน เช่น Gradient centrifugation, LCMS, Sensitive analysis เป็นต้น

ตัวอย่าง Fixed angle rotor

iFuge UC02R

ตัวอย่าง Swing-out rotor

iFuge UC02R

 

ทำไมต้องใช้ Fixed angle rotor ?

  • ต้องการใช้แรง G สูง
  • ต้องการได้ตะกอน (pellets) ที่อัดแน่น
  • ปั่นแยกอนุภาคขนาดเล็กมาก เช่น membrane proteins หรือ plasmid DNA
  • มีปริมาณตัวอย่าง หรือหลอดทดลองค่อนข้างน้อย

 

ทำไมต้องใช้ Swing out rotor ?

  • มีปริมาณตัวอย่างมาก
  • ต้องการความยืดหยุ่นของภาชนะ หรือ adapter
  • ปั่นเหวี่ยง well plates
  • ใช้จำนวนตัวอย่าง หรือหลอดทดลองค่อนข้างน้อย
  • ต้องการให้ตะกอนอยู่บริเวณกึ่งกลางของก้นหลอด
  • หมุนเหวี่ยงแบบ Gradient centrifugation

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง  

Logo

https://neuation.com/product-category/acentrifuge/

 

 

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อ Info@biodesign.co.th หรือ Line: @BioDesign หรือ https://www.facebook.com/BioDesignTH

 

“บทความผลิตภัณฑ์โดย คุณอนาวิล วงศ์ศฤงคาร Product Specialist บริษัท ไบโอดีไซน์ จำกัด”